ผลการใช้รูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญา

ผู้แต่ง

  • Patcharee Prasangriyo หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อม, การสอนแบบร่วมมือ, พหุปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่สอนตามรูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญากับกลุ่มที่สอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน ด้วยวิธีสอนตามรูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญา กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญาและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนตามรูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญา สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมแบบร่วมมือตามแนวพหุปัญญา มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย