การรับรู้ภาวะสุขภาพองค์รวมของมารดาวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมรอบข้างของมารดาวัยรุ่น ในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • Mukda Phadungyam สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • Sarunrat Phonin สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Wandee Chuchuen สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

สุขภาพองค์รวม, มารดาวัยรุ่น, การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพองค์รวมของมารดาวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมรอบข้างของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดเพชรบุรี  กลุ่มตัวอย่างได้แก่มารดาวัยรุ่น อายุระหว่าง 15 -19 ปี  สมาชิกในครอบครัว และสังคมรอบข้างของมารดาวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหา (Manifest content analysis)  ผลการวิจัยแสดงถึงการรับรู้ภาวะสุขภาพองค์รวมของมารดาวัยรุ่น ครอบครัว และสังคมรอบข้างของมารดาวัยรุ่นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ดังนี้ มิติด้านร่างกาย พบว่า มารดาวัยรุ่นจะมีอาการแสดงทางกาย และใส่ใจตนเองในการดูแลสุขภาพลดลง มิติด้านจิตใจพบว่า มารดาวัยรุ่น และครอบครัว มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงในทางลบ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง มีความขัดแย้งทางอารมณ์ ความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง มิติด้านสังคม พบว่า มารดาวัยรุ่นมีทักษะการสื่อสารในครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขาดความมั่นใจในการกลับเข้าสู่สังคม ใช้การพึ่งตนเองและครอบครัวในการดำเนินชีวิตมากขึ้น มีพฤติกรรมใส่ใจดูแลบิดามารดามากขึ้น และมีความต้องการใช้ชีวิตตามช่วงวัยมากกว่าความต้องการเลี้ยงดูบุตรของตนเอง  มิติด้านจิตวิญญาณ พบว่า มารดาวัยรุ่นมีความคิดและมุมมองการใช้ชีวิตที่กว้างมากขึ้น มีแรงบันดาลใจในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินชีวิตมากขึ้น ตระหนักถึงคุณค่าของความรักและความกตัญญูต่อบิดามารดา ใช้บุตรและบิดา/มารดาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น  การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้บุคลากรทางสุขภาพมีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ให้บริการเชิงรุก เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย