ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกด้านการบริการพยาบาล สถาบันราชประชาสมาสัย

ผู้แต่ง

  • Sirirat Phu-Ob Eastern Asia University

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ป่วยนอก, การบริการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอก ต่อบริการพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชประชาสมาสัย และอำนาจการทำนาย ปัจจัยทางด้านบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และปัจจัยด้านการใช้บริการ ได้แก่ แผนกที่มาใช้บริการ ช่วงเวลาที่รอคอยพบแพทย์ ความถี่ในการใช้บริการ ประเภทผู้ป่วย และระยะเวลารวมทั้งหมดในการใช้บริการ ต่อบริการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันราชประชาสมาสัย 4 แผนก คือ แผนกผู้ป่วยนอกโรคผิวหนัง จักษุ หู-คอ-จมูก และศัลยกรรมกระดูกและข้อ จำนวน  400 ราย ที่คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีค่าความตรงของแบบสอบถามเท่ากับ .80 ความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ .82  สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมของการบริการพยาบาลอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย  4.11 (S.D.  = 0.51) และปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจของผู้ป่วยได้ร้อยละ 3.7 โดยมีเพียงตัวแปรเดียวคือแผนกผู้ป่วยนอกโรคผิวหนัง ที่มีผลด้านลบต่อความพึงพอใจผู้ป่วยนอกด้านบริการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 (ß = -.22, p-value = .04) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายการพยาบาลควรมีการปรับปรุงการบริการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกโรคผิวหนัง ในเรื่อง การจัดระบบงาน การให้บริการของพยาบาล และการเพิ่มสัดส่วนจำนวนพยาบาลกับผู้ป่วยให้เพียงพอ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย