สารก่อมะเร็งในงานอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • Atitaya Jitjamnong Eastern Asia University

คำสำคัญ:

สารก่อมะเร็ง, งานอุตสาหกรรม, สารก่อมะเร็งจากการทำงาน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมต้องสัมผัสกับสารก่อมะเร็งจากการทำงานซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้อัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สารก่อมะเร็งจัดออกเป็น 5 กลุ่มตามการแบ่งกลุ่มของ IARC กลุ่มที่มีความเป็นอันตรายมากที่สุด คือ กลุ่ม 1 (ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์) ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มนี้หลายชนิด เช่น แอสเบสตอล เอทิลีนออกไซด์ ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น การสัมผัสสารก่อมะเร็งในการทำงาน มี 3 ช่องทาง คือ การกิน การหายใจ และการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง ซึ่งการสัมผัสเป็นระยะเวลานานจะทำให้สารกระจายตัวไปยังอวัยวะต่างๆ ถูกสะสมไว้ที่อวัยวะเป้าหมาย เช่น ปอด เยื่อหุ้มปอด เม็ดเลือดขาว เป็นต้น หรือเปลี่ยนแปลงเป็นสารเมตาโบไลต์ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับพันธะของ DNA และสามารถทำให้เกิดมะเร็ง โดยพบจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสัมผัสกับสารก่อมะเร็งปอดในการทำงานมากที่สุด การป้องกันสารก่อมะเร็งในงานอุตสาหกรรมทำได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารก่อมะเร็งและอาศัยหลักการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การควบคุมที่แหล่งกำเนิด ทางผ่าน และตัวบุคคล นอกจากนี้การกำหนดข้อบังคับทางกฎหมายในเรื่องค่ามาตรฐานบรรยากาศในการทำงานของสารเคมีในกลุ่มสารก่อมะเร็งอย่างชัดเจนและใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่สถาบันของต่างประเทศแนะนำไว้ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ