ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • Pattama Suphunnakul คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • Suthichai Sirinual คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • Jetsadakon Noin คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • Vimala Chayodom คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • Orapin Singhadej คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 390 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นบันได ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 47.9 อยู่ในระดับดีร้อยละ 52.1 สำหรับปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสูงที่สุดได้แก่แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = 0.401) รองลงมาได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง (Beta = 0.377)ระดับน้ำตาลในเลือด (Beta= - 0.214)เพศชาย(Beta= 0.039) และระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวาน(Beta= 0.031) ตามลำดับ ตัวแปรทำนายทั้ง 5 ตัวร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 91.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย