การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • Phanuwat Meechana คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Nitchaphat Khansakorn คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Tassanee Silawan คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Tassanee Rawiworrakul คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, ประชากรก่อนวัยสูงอายุ, ผู้สูงอายุคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคลและครอบครัว กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรก่อนวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรอายุ 50-59 ปี จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 51.3 อายุเฉลี่ย 54.98 ปี มีรายได้เฉลี่ย 5,154 บาท (2) ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวร้อยละ 71.7 และครัวเรือนมีหนี้สินร้อยละ 78.0 (3) มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุระดับต่ำร้อยละ 43.6 รองลงมา คือ ระดับปานกลางร้อยละ 40.0 และระดับสูงร้อยละ 16.3 ตามลำดับ เมื่อจำแนกระดับการเตรียมความพร้อมรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจระดับต่ำร้อยละ 83.3 ด้านสุขภาพระดับปานกลางร้อยละ 37.0 ด้านที่อยู่อาศัยระดับสูงร้อยละ 49.3 และด้านสังคมระดับสูงร้อยละ 60.0 และ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุ พบว่ารูปแบบการอยู่อาศัย หนี้สินของครอบครัว และจำนวนสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุคุณภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรส่งเสริมในเรื่องรายได้ของประชากรก่อนวัยสูงอายุ ได้แก่ การฝึกอาชีพเสริม การเรียนรู้การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง และอีกส่วนประชากรวัยสูงอายุควรหาอาชีพเสริมทำก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นประจำ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย