สถิตินอนพาราเมตริกและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • Suphamon Chansakul คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • Suchada Bowarnkitiwong คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สถิตินอนพาราเมตริก, สถิติไม่ใช้พารามิเตอร์, การประยุกต์ใช้สถิตินอนพาราเมตริก, งานวิจัยทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติพาราเมตริกเป็นการทดสอบที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับลักษณะของประชากร เช่น ถ้าจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย จะมีข้อตกลงเบื้องต้นว่าประชากรแต่ละกลุ่มต้องมีการแจกแจงปกติ (normal distribution) หรือใกล้เคียงปกติ ตัวอย่างที่นำมาทดสอบต้องได้มาโดยการสุ่ม (randomness) และข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ต้องเป็นข้อมูลแบบช่วงขึ้นไป บ่อยครั้งที่พบว่าข้อมูลแต่ละกลุ่มไม่มีการแจกแจงปกติหรือไม่ได้เกิดขึ้นแบบสุ่ม หรือไม่มีค่าเป็นตัวเลขระดับช่วงขึ้นไป หากแต่เป็นความถี่หรือลำดับที่ กรณีเช่นนี้ข้อสรุปที่ได้จากสถิติพาราเมตริกจะขาดความน่าเชื่อถือ สถิตินอนพาราเมตริกจึงเป็นสถิติที่มีความเหมาะสมกว่าสถิตินอนพาราเมตริกเป็นสถิติอ้างอิงที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางเพราะเป็นสถิติที่ไม่คำนึงถึงการแจกแจงของข้อมูลที่เรียกว่า distribution free   สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  ใช้ได้กับข้อมูลที่มีมาตรวัดระดับนามบัญญัติขึ้นไป การวิจัยทางการพยาบาลนิยมใช้สถิตินอนพาราเมตริกในการวิเคราะห์ข้อมูลเนื่องจากมักพบข้อจำกัดในเรื่องตัวอย่างมีขนาดเล็กและข้อมูลไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ การนำสถิตินอนพาราเมตริกหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางการพยาบาลทำได้ดังนี้ 1) ตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติหรือไม่  2) หากข้อมูลมีการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้น เสนอแนะให้ใช้สถิตินอนพาราเมตริกในการวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามวิจัย และ 3) ในกรณีที่ตัวอย่างมีขนาดเล็กเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลวิจัยควรใช้ผลการวิเคราะห์ทั้งจากสถิติพาราเมตริกและนอนพาราเมตริกร่วมกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ