การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • Krissana Sapsirisopa Boromarajonani College of Nursing, Udonthani
  • Sitthisant Sapsirisopa Muangnongkhai District Public Health

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต, ความดันโลหิตสูง, หนองคาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ให้มีความครอบคลุม สามารถตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติ และนำผู้ป่วยสู่ระบบการรักษาได้อย่างทันท่วงที ใช้วิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (action research) โดยใช้หลักการ P D C A, KM ร่วมกับการเรียนรู้แบบ On the Job Training กับพยาบาลเวชปฏิบัติและบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ประชากรเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 4,357 คน ใช้เวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556-กรกฎาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ร่วมกับการสังเคราะห์ และถอดบทเรียนในระหว่างการดำเนินงานและเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำผลที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดงานของตนต่อไปได้ ผลการศึกษาพบว่า จากปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน โดยใช้การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการทำงานเชิงรุก การพัฒนาบุคลากร การแบ่งปันทรัพยากร และการบริการใกล้บ้านใกล้ใจ  ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 79.44 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 9.63, ใช้ระยะเวลาในการตรวจคัดกรอง 3 เดือน (เดิมใช้เวลา 8-10 เดือน), ผู้ที่มีภาวะผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจจากแพทย์ ร้อยละ 100, สามารถลดความแออัดของโรงพยาบาลหนองคาย ได้ 3,461-4,357 คน/ปี, ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับบริการของผู้ป่วยและญาติได้อย่างน้อย 546,838 บาท, หน่วยบริการปฐมภูมิสามารถพึ่งตนเองและวางแผนการดำเนินงานได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ, พยาบาลเวชปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้รับการเรียนรู้และฝึกทักษะในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ร้อยละ 100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย