พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทยกับวิธีการลดการดื่ม

ผู้แต่ง

  • Phiangphim Punrasi Naresuan University
  • Narongsak Noosorn Naresuan University

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์, การดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทย, การลดการดื่มแอลกอฮอล์ในสตรี

บทคัดย่อ

สตรีไทยมีแนวโน้มการดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และอายุที่เริ่มดื่มครั้งแรกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ สาเหตุการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีมีทั้งปัจจัยภายในตัวบุคคลและปัจจัยแวดล้อม ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ในสตรีทั้งต่อตนเอง บุตรในครรภ์ ครอบครัว ชุมชน สังคม ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังมีขีดจำกัดในหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการสาธารณสุขด้านส่งเสริมการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มสตรีที่มีประสิทธิภาพการทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบพบวิธีการที่ปรากฏและนำมาใช้ในการปฏิบัติเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีที่ผ่านมาได้แก่1) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ ทัศนคติ และมีทักษะที่ดี  2) การประเมินและจำแนกสภาวะการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีเป้าหมาย 3) การให้ความรู้ คำปรึกษา การแนะนำ การเสริมแรงจูงใจ และการกำกับตนเอง และ 4) การติดตามกระตุ้นเป็นระยะๆเพื่อให้พฤติกรรมการลด ละ เลิก ดื่มแอลกอฮอล์ยาวนานขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาปฏิบัติที่อยู่ในระดับต่ำดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาจากผลของการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อหารูปแบบหรือวิธีการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของคนไทย เพื่อเสนอเป็นแนวทางด้านการสาธารณสุขเพื่อลดอันตรายและลดผลกระทบที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทยได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ