ประสิทธิผลของโปรแกรมการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มสตรีเกษตรกรไทยโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถแห่งตน

ผู้แต่ง

  • Pattanawadee Pattanathaburt Faculty of Public Health, Naresuan University
  • Narongsak Noosorn Faculty of Public Health, Naresuan University

คำสำคัญ:

การลดการดื่มแอลกอฮอล์, ทฤษฎีความสามารถแห่งตน, สตรีเกษตรกร

บทคัดย่อ

ช่องว่างระหว่างเพศที่มีมายาวนานในสังคมเกษตรกรรมทำให้สตรีเกษตรกรไทยมีความเครียดจากปัญหาความรับผิดชอบจากงานบ้านและงานเกษตรกรรมนอกบ้านทำให้สตรีส่วนหนึ่งหันไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มสตรีเกษตรกรโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถแห่งตน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นสตรีเกษตรกรจำนวน 60 คน อายุระหว่าง 40-49 ปีในพื้นที่ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งกลุ่มด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มสตรีเกษตรกร ซึ่งเป็นกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 5 ครั้ง ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรมหลักที่เสริมสร้างความเข้มแข็งทางร่างกายและอารมณ์ในการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลคะแนนการรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ที่ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 8 และ 12  ผลการวิจัย พบว่า สตรีเกษตรกรกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคศาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ก่อนและหลังทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  เมื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตน และคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลลัพธ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (p-value < 0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (p-value < 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20