ปัจจัยที่มีผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ทิพานันท์ ตุ่นสังข์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ภัทรพรรณ บุญศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วิภาดา ศรีเจริญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กิ่งแก้ว สำรวยรื่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอกภพ จันทร์สุคนธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อนงค์นาฏ คงประชา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, โรงงานอุตสาหกรรม, อิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปัจจัยที่มีผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 93 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.1 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 60.2  มีอายุการทำงานระหว่าง 1-3 ปี ร้อยละ 69.9 โดยส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 21.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากที่สุดบริเวณเท้าและข้อเท้า ร้อยละ 32.3 มือและข้อมือ ร้อยละ 28 และสะโพกและต้นขา ร้อยละ 28 ตามลำดับ ซึ่งมากจากการทำงานที่มีการเคลื่อนไวซ้ำ ๆ และยืนตลอดเวลา ร้อยละ 92.5 และ 84.9 ตามลำดับ  และปัจจัยที่มีผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น 7 ปัจจัย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (B = 0.576) รายได้ (B = -0.001) งานยืนตลอดเวลา (B = -7.296) งานที่ใช้มือ/แขนออกแรงซ้ำ ๆตลอดเวลา (B = 12.166) ระดับการศึกษา (B = 25.702) การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ (B = -5.190) และความเครียดจากการทำงาน (B = 0.326) ซึ่งทั้ง 7 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันทำนายอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ร้อยละ 31.5 (R2 = 0.315) ดังสมการ = 22.714 + 0.576(X1) - 0.001(X2) - 7.296(X3) +12.116(X4) + 25.702(X5) - 5.190(X6) + 0.326(X7) สรุปผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการปวดกล้ามเนื้อสูงบริเวณเท้าและข้อเท้า มือและข้อมือ และสะโพกและต้นขา และพบปัจจัยที่ส่งผลต่อเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดังนั้นควรมีการส่งเสริมด้านสุขภาพ การยศาสตร์ และจิตสังคมให้เกิดความสมดุลกัน และควรทำการศึกษาเชิงลึกเพื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัจจัยเหล่านี้ขึ้น และพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13