การพัฒนาระบบการลงทะเบียนผู้เข้าพักโรงแรมผ่าน PDA

ผู้แต่ง

  • อัมรา จริยวัฒนศักดิ์ นักศึกษาระดับมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ระบบลงทะเบียนโรงแรม, Hotel Register System

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เสนอแนวคิดในการนำ Personal Digital Assistant มาใช้ในการลงทะเบียนผู้เข้าพักโรงแรม เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการลงทะเบียนผู้เข้าพักในโรงแรม สามารถนั่งรอในพื้นที่รับรองโดยพนักงาน ต้อนรับเป็นผู้ไปเข้าพบเพื่อดำเนินการลงทะเบียนผ่าน Personal Digital Assistant ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบลงทะเบียน การลดความผิดพลาดของการบันทึกข้อมูลปัญหาการสูญหายของเอกสารทะเบียนผู้เข้าพัก และลดข้อผิดพลาดในการจัดทำรายงานที่ต้องส่งให้แก่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้วิจัยได้สำรวจความพึงพอใจ ของผู้ทดลองใช้งานระบบลงทะเบียนผู้เข้าพักผ่าน Personal Digital Assistant พบว่าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงาน การลงทะเบียนผู้เข้าพักมีความพึงพอใจกับระบบที่พัฒนานี้ในระดับดีถึงดีมากในทุกด้าน อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ จำกัดเฉพาะการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานการลงทะเบียนผู้เข้าพักเท่านั้น การนำไปใช้งานจริงจำเป็น ต้องพิจารณาส่วนอื่นด้วย เช่น ระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นงานที่ควรมีการวิจัยและพัฒนา ต่อไปเพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง

 

Development of the Hotel Register System Via PDA

Checking into a hotel normally requires guests to fill in registration forms. The issue causes dissatisfaction in guests due to duplicate processing and complicated system as in the keying in of the personal data by the front office receptionist from the registration form to the hotel register system. In case of heavy check-in, guests will have to line up and wait which cause inconvenience to them. I have come up with an idea of applying Personal Digital Assistant in the registration process which could bring more convenience to the guests. While resting in the lobby area, the front desk receptionists can process the registration via Personal Digital Assistant thereby increasing the efficiency of the registration system and reducing the error in the handwriting. Personal Digital Assistant also reduces loss of documents required by the immigration which could result to increase front office efficiency. This research, however, is limited to the registration process only. To be applicable in other systems, it would need a careful consideration of the concerned system security.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย