การรับรู้ของย่ายายต่อการได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลในตึกสูติกรรม

ผู้แต่ง

  • Namfon Waitayawongkorn วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • Prangthip T. Elter วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • Ratchanee Chunkho วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • Nuchanat Kaewkulthon วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • Jitpaiboon Prathanee วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • Banthom Jaisamran โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา
  • Siriporn Kongchep โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ย่า-ยาย, การสนับสนุนจากพยาบาล, หญิงหลังคลอด, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

ย่า-ยายของทารกแรกเกิดเป็นกลุ่มการสนับสนุนทางสังคมที่เข้มแข็งของหญิงหลังคลอดและทารก แต่มีพยาบาลไม่มากนักที่จะตระหนักถึงการรับรู้ของ ย่า-ยาย ต่อการสนับสนุนทางสังคมจากหอผู้ป่วยในระหว่างที่หญิงหลังคลอดเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของย่า-ยายที่มาเยี่ยมหญิงหลังคลอดต่อการได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลในตึกสูติกรรม ของโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา  ในระหว่างเดือนกันยายน 2555- มกราคม 2556  กลุ่มตัวอย่าง คือ ย่า-ยายที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และเป็นผู้ดูแลหลักของหญิงหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน186 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 3 ท่าน  และนำไปทดลองใช้กับย่า-ยายที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นเท่ากับ .91  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลในตึกสูติกรรมอยู่ในระดับมาก (M = 36.0, SD = 0.45) และด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารเป็นด้านที่มีคะแนนสูงสุด (M = 3.67, SD = 0.57) ส่วนด้านสิ่งของ เงินทองและแรงงาน เป็นด้านที่มีคะแนนน้อยสุด (M = 3.52, SD = 0.55) และพบว่าย่า-ยายที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลแตกต่างกัน [F(4,181) = 3.35, p = .011] ส่วนอายุ สถานภาพสมรส และฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่มีผลต่อการรับรู้การได้รับการสนับสนุนทางสังคม ดังนั้นในการเตรียมย่า-ยายเพื่อเป็นผู้ดูแลหลักของหญิงหลังคลอดและทารก พยาบาลควรให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ย่า-ยายที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันโดยใช้เทคนิควิธีที่แตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย