ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนเขตชนบทภาคใต้: กรณีศึกษา ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • Arjun Songtube naresuan university
  • Promote Songsawat

คำสำคัญ:

ความชุก ปัจจัยเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ชนบทภาคใต้

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความชุกและปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชน ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 คน คัดเลือกโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบความชุกของโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 30.6 ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.50-22.99 กก/ม2 ร้อยละ 40.0 เพศชายมีค่าเฉลี่ยรอบเอว 88.88 เซนติเมตร (SD=13.77) เพศหญิง 86.06 เซนติเมตร (SD=14.86)  ความชุกของโรคเบาหวานร้อยละ 8.0 ไขมันในเลือดสูงร้อยละ 14.2 รับประทานอาหารมันร้อยละ 27.4 รับประทานอาหารเค็มร้อยละ 21.8 ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 52.5 สูบบุหรี่ร้อยละ 15.9 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 28.6 ปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (p=0.002) ดัชนีมวลกาย (p=0.009) และไขมันในเลือด (p=0.048) 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย