ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้

ผู้แต่ง

  • Kittiporn Nawsuwan วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • Patamamas Chotiban วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • Songlit Thongmeekwan วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 98 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) พฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม 3) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม โดยผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ .955 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.= 0.37) สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าปัจจัยคุณภาพการบริการแบบองค์รวม และการดูแลอย่างเอื้ออาทร สามารถทำนายพฤติกรรมการบริการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคใต้ ได้ร้อยละ 54.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ควรร่วมมือกับเขตบริการสุขภาพที่ 11 และ 12 จัดอบรมเพื่อเสริมสร้างการให้บริการแบบองค์รวมและการดูแลอย่างเอื้ออาทรให้แก่พยาบาลวิชาชีพในเขตภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย