การติดตามภาระบรรทุกสารอินทรีย์ของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ผู้แต่ง

  • Kamonnawin Inthanuchit Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University
  • Kwankamon Kunpitak Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University
  • Nadda Podam Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University
  • Hirunwadee Suwibul Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University
  • Sucheewan Yoyruroob Faculty of Science and Technology, Songkhla Rajabhat University

คำสำคัญ:

organic loading, onsite wastewater treatment systems, and Songkhla lake basin

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกคาร์บอนและไนโตรเจนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่กรณีศึกษาโดยมีอายุการใช้งาน 2 ช่วงคือติดตั้งระยะเริ่มแรกและติดตั้งมาได้ระยะหนึ่ง (3-5ปี) ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจากการวัดปริมาณน้ำเสียในช่วงเวลาตลอดวัน พบว่าอัตราการไหลสูงสุดของน้ำเสียเข้าสู่ระบบคือช่วงเที่ยง เวลา 12.30 และ 14.30 น. เท่ากับ  1 และ 1.1 ลิตร/วินาที อัตราการไหลต่ำสุดคือช่วงเวลากลางคืน จากการตรวจวัดลักษณะและสมบัติของน้ำเสียเปรียบเทียบกับธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์พบว่าสัดส่วนของ BOD5 ต่อ N ในรูปของ TKN อยู่ในช่วง 24.8:5 และ 32.5:5 ตามลำดับ ส่งผลทำให้มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ต่ำ โดยมีสัดส่วนของไนโตรเจนสูง เมื่อเปรียบเทียบค่า BOD5 และปริมาณภาระบรรทุกน้ำเสียในรูปของ TSS COD BOD5 และ TKN เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่กรณีศึกษา อยู่ในช่วง   19.4-22.7, 10.9-13, 6.3-9.7 และ 1.7-2.4   กก./วัน ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ ถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศแบบแรกเริ่มมีภาระบรรทุกของมลพิษสูงที่สุด รองลงมาคือถังสำเร็จรูปแบบเติมอากาศแบบแรกเริ่มและถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศระยะหนึ่งตามลำดับ ท้ายที่สุดสามารถสรุปปัญหาในภาพรวมของการจัดการน้ำเสียคือ ด้านวิศวกรรมและด้านการจัดการ โดยแบ่งเป็นด้านบุคลากร วัตถุดิบ เครื่องมือ กระบวนการ พบว่า ปัจจัยด้านบุคคลมีความสำคัญมากที่สุด คือ ผู้ควบคุมหรือดูแลระบบไม่มีความเข้าใจในเรื่องระบบบำบัด ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้อาคาร และไม่มีการตรวจสอบระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-28