ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพชรละคร อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • บุญฤทธิ์ หุ่นสุวรรณ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธนัช กนกเทศ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพชรละคร อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวนทั้งหมด 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ทั้ง 4 ครั้งคือ ก่อนทำการทดลอง หลังทำการทดลองทันที หลังทำการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังทำการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1)โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (2)แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 โลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ทั้ง 4 ครั้งคือ ก่อนทำการทดลอง หลังทำการทดลองทันที หลังทำการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังทำการทดลอง 12 สัปดาห์ นั้นพบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทำการทดลองโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.000) และในการทดสอบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = .000) โปรแกรมการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้นำไปใช้ในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13