รูปแบบการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • Apichart Kumperasart Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Manee Chinnarong Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Paul Inthaseni Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Sirinee Wathninthorn Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Suphalak Chintrakan Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Suttiya Nisantunyu Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Kanpichcha Roungreunng Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Tanapon Rattanawongkham Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University
  • Rujira Sangasang Faculty of Management, Kanchanaburi Rajabhat University

Keywords:

การบริหารจัดการ, การปกครอง, คณะสงฆ์อำเภอชะอำ

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (3) ปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ (4) รูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีจำนวน 11 รูป และการวิจัยเชิงปริมาณผู้ตอบแบบสอบถาม คือ พระสงฆ์ที่จำพรรษาในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีจำนวน 370 รูป และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีบรรยายแบบความเรียงและวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้ค่าสถิติพรรณนา เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างและการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้  (1)  สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการ ประกอบด้วยมีการบริหารงานและได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่มีความสำเร็จเรียบร้อยถูกต้องกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่มีรูปแบบการบริหารที่ต่อเนื่อและมีการบริหารในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีการสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น (2)  ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอชะอำ ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และกระบวนการบริหารยังขาดความร่วมมือในการนำนโยบายมาปฏิบัติอย่างจริงจัง (3) ปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์คือแนวคิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ 8 ประการ (4)รูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการในการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีประกอบด้วย 6 องค์ประกอบในกระบวนการหลัก

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย