การบริหารจัดการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • ชาติชาย พยุหนาวีชัย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สัมพันธ์ พลภักดิ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การบริหารจัดการ, สินเชื่อที่อยู่อาศัย, ธนาคารออมสิน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาของการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร คือ ประชาชนที่ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของของธนาคารออมสิน จำนวน 335,007 ราย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,108 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน แบบตัวต่อตัว ด้วยแบบสอบถามแนวลึกแบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ ธนาคารจัดให้มีพนักงานรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการให้บริการทำให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดความล่าช้า ซึ่งเป็นปัญหาการบริหารจัดการด้านความพอประมาณ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ ที่สำคัญ คือ ธนาคารควรจัดให้มีพนักงาน รวมถึงวัสดุอุปให้เพียงพอต่อการให้บริการเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการประสบผลสำเร็จที่สำคัญ คือ การที่พนักงานมีทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ในการให้บริการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ลูกค้า มีความเอาใจใส่ ความอดทน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานโดยมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกค้าอย่างแท้จริง

Downloads

Published

2018-11-29

Issue

Section

บทความวิจัย