แนวทางการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • สิทธา เสาร์แดน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สงบ อินทรมณี หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ธีระดา ภิญโญ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Keywords:

การบริหารโครงการ, ห้องเรียนพิเศษ, แนวทางการบริหารโครงการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและมีการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 240 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการติดตาม กำกับ และประเมินผล ด้านการวางแผน และ ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ ตามลำดับ ปัญหาการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านติดตาม กำกับ และประเมินผล ด้านการวางแผน และด้านการนำแผนไปปฏิบัติ ตามลำดับ และ แนวทางการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษ พบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษควรให้ความสำคัญกับ 4 M’s ได้แก่ เงิน คน วัสดุอุปกณ์ และวิธีการ (2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตามและประเมินผลกิจกรรมหรือโครงการโดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์ของการดำเนินงานเป็นหลัก และ (3) สถานศึกษาควรจ้างบุคลากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษ

Downloads

Published

2019-08-05

Issue

Section

บทความวิจัย