การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีสำหรับลูกเสือชาวบ้าน

Authors

  • วรวุฒิ เจริญศรีพรพงศ์ นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เกียรติวรรณ อมาตยกุล หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนินทร สุขเจริญ หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนาโปรแกรม, การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี, ลูกเสือชาวบ้าน, Non-formal educational program, good citizenship, civil boy scout

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้าง ความเป็นพลเมืองดีสำหรับลูกเสือชาวบ้าน (2) ศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบ โรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี สำหรับลูกเสือชาวบ้านที่พัฒนาขึ้นทางด้านความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรม และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติที ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) โปรแกรมการศึกษานอกระบบ โรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความพลเมืองดีสำหรับลูกเสือชาวบ้านที่พัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เคารพกฎระเบียบของสังคม มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นใน อุดมการณ์ มีเกียรติเชื่อถือได้ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภคที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ที่ดีกว่า อดทนต่อความขัดแย้ง แสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสาธารณะ เต็มใจช่วยเหลือ ผู้อื่นเสมอ กล้าเสนอตนเป็นตัวแทน (2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น เสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีสำหรับลูกเสือชาวบ้านให้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ปัจจัยที่ส่งเสริม ได้แก่ ความชัดเจนและครอบคลุมของวัตถุประสงค์ การนำเนื้อหาไปใช้ได้จริง กิจกรรม สร้างบันดาลใจในการเป็นพลเมืองดี การจัดบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกยอมรับกัน และความน่าสนใจของสื่อ ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ความเหมาะสมของเวลา สภาพความพร้อมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมความสามารถในการเรียนรู้ และความแตกต่างของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

Development of a Non-formal Education Program for Enhancing the Good Citizenship for Civil Boy Scouts

The purpose of this research is to: (1) develop a non-formal education program for enhancing good citizenship for civil boy scouts; (2) implement a program and study of knowledge, attitude and skills related to good citizenship and (3) study the supporting factors and the problems which affect the non-formal education program. The samples in this study consisted of 60 civil boy scouts. Instruments used for collecting data were scales. Data was analyzed by using the two-tailed t-test. The research findings were as follows: (1) the non-formal education program for enhancing good citizenship was divided into 5 units: national loyalty, religion and king, law and abiding by social rules , honesty, ideology, trusty, magnanimity, good productivity and consumerism, self-sufficiency; (2) the developed program enhanced participants’ knowledge, attitude and behavior at the highest level; at the .01 level and (3) the supporting factors were clear and coverage objectives, practical contents, inspiring learning activities, learning atmosphere and interesting learning media, the problems were lack of time, learners readiness, learning ability, and differences among the learners.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย