การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • แววศิริ วิวัจนสิรินทร์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง)

Keywords:

การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร, academic management model, basic education

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ การพัฒนา การนำเสนอรูปแบบ และการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู กรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร 205 แห่ง จำนวน 820 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการประชุมผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด กรุงเทพมหานคร มี 5 องค์ประกอบคือ การรวมคนรวมพลัง การร่วมคิดร่วมวางแผน การร่วมทำร่วมปฏิบัติการ การร่วมสรุปเป็นบทเรียน และการร่วมรับผลจากการกระทำ ร่วมยกย่องเชิดชูผู้มีผลงาน จากการทดลองใช้รูปแบบ กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 6 แห่ง พบว่า มีประสิทธิภาพสูง (ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 1.00) มีความเหมาะสมเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับดีมาก

 

The Development of a School-Based, Participative Management Model on Academic Affairs in Basic Education Schools Under The Bangkok Metropolitan Administration

The main objective of this research was to develop an academic management model by stakeholder participation through school – based management in basic education schoosl under the Bangkok Metropolitan Administration. The sample size of 820 consisted of administrators, teachers, parent and school committee members in 205 basic education schools under the Bangkok Metropolitan Administration. The instruments used for data collection were questionnaire, focus group discussion, and ad-hoc education expert meeting. The study revealed as follows: The effective academic management model consisted of 5 stages namely meeting, planning, implementation, evaluation, and results; with the testing of the model in 6 basic schools, it was found out that propriety, feasibility, utility and congruity have high levels of efficiency (efficiency = 1.00) in terms of acad emic management participation.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย