การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Authors

  • พิมพินี ดำสงค์

Keywords:

การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ, งานเทคนิคของห้องสมุด, งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ, information resources development, higher education in private institution

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และความคิดเห็นของ บรรณารักษ์ที่มีต่อการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งปัญหาในการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากร สารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บรรณารักษ์ระดับหัวหน้า หรือบรรณารักษ์ระดับปฏิบัติงานที่รับผิดชอบในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันของเอกชน จำนวน 71 แห่ง รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t test (independent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว F test (one-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนใหญ่มีนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรรงบประมาณแยกป็นงบสื่อสิ่งพิมพ์ ร้อยละ 60 สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 1-30 ห้องสมุดส่วนใหญ่เลือกซื้อทรัพยากรสารสนเทศตามที่ผู้ใช้เสนอแนะและ การคัดออกพิจารณาจากปีที่พิมพ์เป็นหลัก ห้องสมุดส่วนใหญ่มีงบประมาณในการจัดซื้อไม่เพียงพอและขาด ความร่วมมือกับอาจารย์ในการคัดเลือกหนังสือ

 

The Information Resource Development for the Library of Private Higher Education Institution

This research aims to study the process of information resources development [IRD], the librarian opinions towards the IRD, and the problem occurring in the IRD in the context of private higher education institution library [PHEIL]. Questionnaires were distributed to 60 chief librarians and the librarians in charge of library IRD who were working in private higher education institutions all over Thailand. The statistics was used to analyze data in term of frequency, mean, standard deviation, t-test, F test, ANOVA, and the average pair using Least Significant Difference (LSD) test with the level of statistical significance at the .05. The study found that most PHEILs have written IRD policy. Their expenditures were support from the institutes’ annual budget. Sixty percent of the budget was allocated to printed media. The library sort information resources in base on user suggestions and the major criteria to sort information resources out was year of publication. The main IRD problems were insufficient budget and lacking of coordination from lecturers in sort information resources in and out process. Librarians with different educational background, experience, and work position have different perception in the problem of lacking qualified person, not having clear job responsibility to various types of information resources, and lateness in bidding approval process. Librarians with different experience and work position have different perception in sorting information resource out criteria. Librarians with different work position have different level of concern about person in charge of sorting information resource in and out. Librarians with different institutional size have different level of concern about Thai textbook, Thai n ovel and short stories procurement.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย