การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง

Authors

  • ธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์ อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • พิมลพรรณ เรพเพอร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • กฤษดา อัครพัทธยากุล ประธานบริหาร บริษัท แอโรฟูลอิด จำกัด
  • วิระศักดิ์ ฮาดดา นายก อบต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
  • สุเมธ ทรงวัชราภรณ์ รองนายกเทศบาลนครนนทบุรี
  • วสุเชษฐ์ โสภนเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย

Keywords:

การเตรียมความพร้อม, องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง, ประชาคมอาเซียน, organizational readiness, ASEAN community affiliation, sub-district administration

Abstract

บทความนี้เสนอรายงานการศึกษาการ เตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์การสู่ประชาคมอาเซียนองค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในสามด้าน ได้แก่ การ เตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์การสู่ประชาคมอาเซียน ปัจจัยการบริหารงาน และแนวทางการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์การสู่ประชาคมอาเซียน คณะผู้วิจัย ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 310 ตัวอย่าง โดยสุ่มจาก ประชากรประกอบด้วย คณะผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง จำนวนทั้งหมด 1,359 อบต. ใน 21 จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์การสู่ประชาคมอาเซียนขององค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านองค์การ, ด้านกระบวนการ, ด้านเทคโนโลยีและด้านกลยุทธ์อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ปัจจัยการบริหาร ในการเตรียมความพร้อมฯ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริหารที่มีความสัมพันธ์กับ การเตรียมความพร้อมได้แก่ อายุ, การศึกษา, รายได้,และระยะเวลาในการทำงาน ปัจจัยทางการบริหารที่มีความ สำคัญต่อการเตรียมความพร้อมฯเรียงจากปัจจัยที่มีอิทธิพลมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการ,ด้านบุคลากร, ด้าน งบประมาณ, และด้านเครื่องมืออุปกรณ์ฯ และยังพบว่า ปัจจัยด้านงบประมาณและการจัดการมีอิทธิพลทางอ้อม ต่อการเตรียมความพร้อม แนวทางการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน คือองค์กรควรวางแผนการบริหารงานตามความเหมาะสมของพื้นที่ เน้นการบูรณาการการทำงานของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความรู้ ความเข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์ บทบาท หน้าที่ การเพิ่มโครงสร้างหน่วยงานในองค์กร ที่ดูแลเกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และควรสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและควรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้กับคนในชุมชน

 

ASEAN Readiness and Development of Sub–District Administrative Organizations in the Central Part

This survey research aims to study the sub-district administrative organizations in the central part in 3 aspects: (1) the readiness for organizational development for ASEAN community affiliation; (2) Factors in administration towards readiness in organizational development for ASEAN community affiliation; (3) The relationship of personal factors and the readiness for organizational development for ASEAN community affiliation. The research team used questionnaires to collect data from 310 samples selected randomly from the population consisting of 1,359 sub-districts in 21 provinces. The findings reveal the followings: as a whole, the readiness in organizational development for ASEAN Community affiliation of the sub-district administrative organizations in the central part of Thailand is found to be performed at the middle level. When considering different aspects, the results show that the organization, the process, the technology and the strategy are also at the middle level. Factors in administration of the readiness are found to be at a high level, while factors relating to personnel and management are performed at a high level but budgeting and tools and equipment are found at the middle level. The relationships of personal factors of administrators with readiness include the followings: age, education, income and length of service. Administrative factors affecting readiness are found in order of importance as follows: management, budgeting, tools and equipment.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย