รูปแบบการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุภาวดี วงษ์สกุล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผล, การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, model of development, transformational leadership, effectiveness, basic education leadership

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อศึกษาปัจจัย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (4) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิผล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคือการบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของครูอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ปัจจัยด้านพฤติกรรม และปัจจัยด้านสถานการณ์ (3) รูปแบบกระบวนการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การประเมินตนเอง การวางแผน พัฒนาตนเอง การดำเนินการพัฒนา และการประเมินผลความสำเร็จ ซึ่งการดำเนินการพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ โปรแกรมการฝึกอบรม กิจกรรมการพัฒนา และกิจกรรมพัฒนา ตนเอง (4) การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิผล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า จากการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 18 ท่าน มีความเห็นตรงกันว่า รูปแบบมีความเหมาะสม หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ปัจจัย และกระบวนการพัฒนา มีความสอดคล้องกันและ เป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

 

A Development Model for Effective Transformational Leadership in Basic Education Institutions

This paper on the management of basic education institutions studies: the effectiveness of management in basic education institutions; the factors influencing transformational leadership of administrators; creating an effective model to develop transformational leadership and determining the feasibility of developing the type of transformational leadership desired. The findings were as follows: the management of basic education institutions effectively met school goals and teacher satisfaction at the highest level; the influencing factors towards leadership change included administrative, behavioral and situational factors; the process of development of leadership change was composed of four stages, namely self-evaluation, development planning, execution and evaluation with the execution stage developed through training programs, development and self-development activities. The 18 experts agreed on the feasibility study to determine the development model suitable to the rationale, objectives and factors of the development process applicable to the development of school leaders.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย