ปัจจัยเชิงสาเหตุที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

Authors

  • ชญานิกา ศรีวิชัย นักศึกษาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล, effective leadership, executive effectiveness, kindergarten

Abstract

บทความนี้เป็นรายงานการวิจัยที่ทำการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนและสร้างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร โรงเรียนจำนวน 265 คน และครูในโรงเรียนอนุบาลจำนวน 792 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2555 จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น รูปแบบงานวิจัยสังเคราะห์จากทฤษฎี เอกสารและงานวิจัย ยืนยัน รูปแบบด้วยวิธีการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ 13 คน ตรวจสอบรูปแบบด้วยการหาข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการให้ กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ความสัมพันธ์และหาความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ เชิงอิทธิพลของตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อตัวแปรตามทีละตัวด้วยสถิติ Path Analysis ผลการวิจัยพบว่าระดับประสิทธิผล ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลอยู่ในระดับดีและดีมาก ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประกอบด้วยตัวแปรแฝงด้านภูมิหลัง ด้านสถานการณ์ ด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหาร และด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร และรูปแบบภาวะผู้นำ ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

Causal Factors related to Effective Leadership of the Executive that Affect the Effectiveness of the Kindergarten, under the Private Education Commission.

The purpose of this research is to study the causal factors and related factors that affect the effective leadership of kindergartens under the Office of the Private Education Commission. The subjects were 265 school administrators and 792 teachers. Data were collected in 2011 by using stratified random sampling. The research was synthesized from theories, documents and research. The confirmation of the conceptual framework model was reviewed by 13 experts and a focus group. The confirmation of the research model was collected by the respondents of the sample group. The data analysis used was correlation and path analysis.

The results show that the level of leadership effectiveness and effective management of kindergartens is good to very good. Causal factors associated with effective leadership of the administration of the kindergartens is executive background, including age, experience in management and education administration, as well as the relationship between the management and the teachers in the kindergarten, influence in the executive office of the kindergarten, the structure of the kindergarten, the relationship between the kindergarten and the community, the involvement of parents and the personal characteristics of the executive leadership including leadership skills. Other factors include the behavior of the executive leadership, their vision, the charisma of individuals, intellectual stimulation, inspiration, contingent rewards and academic leadership.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย