ปัจจัยทางจิต-สังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษา: บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Authors

  • วรินทร์สินี เรือนแพ นักศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, จิตสำนึกสาธารณะ, organizational citizenship behavior, relationship with co-worker, quality of work life, public consciousness

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และจิตสำนึกสาธารณะ กับพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (3) ศึกษาปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน จิตสำนึก สาธารณะที่มีอิทธิพลต่อการทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 230 คน ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน จิตสำนึกสาธารณะ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ส่วนคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และจิตสำนึกสาธารณะ สามารถร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้

 

Psycho-social Factors Affecting Organizational Citizenship Behavior: A Case Study of Personal Working at the Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University

This research investigates (1) the triad level of organizational citizenship behavior, (2) the relationship between the co-worker relationship, quality of work life, public consciousness and organizational citizenship behavior. Finally, (3) a forecast governing organizational citizenship behavior is framed by the researcher with relationship with co-worker, quality of work life and public consciousness as predictive variables. The sample population in this study consisted of 230 stuff working at the faculty of veterinary medicine employed at Kasetsart University. The instruments of this research were questionnaires eliciting data on relationship with co-worker, quality of work life, public consciousness and organizational citizenship behavior. Technique of descriptive statistics used in the analysis of the data obtained were percentage, mean and standard deviation. Pearson’s product moment correlation coefficient, multiple correlation coefficient, and multiple regression analysis utilizing the stepwise selection technique. The findings showed: (1) The stuff under study evinced a high level of organizational citizenship behavior, (2) Relationship with co-worker and Public consciousness were determined to be positively correlated with organizational citizenship behavior at the statistically significant level of .01, (3) Quality of work life were no correlated with organizational citizenship behavior, (4) Relationship with co-worker, quality of work life and public consciousness were found to be mutually predicted organizational citizenship behavior at the statistically significant level of .05.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย