กลยุทธ์การจัดการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

Authors

  • supenporn yountong Easternasia university

Keywords:

กลยุทธ์การจัดการศึกษาผู้ใหญ่, การส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ข้อมูล ปัญหา และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน (2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และ (3) ประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การจัดการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากนั้นพัฒนากลยุทธ์โดยวิธีการสนทนากลุ่ม โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระบบการจัดการศึกษาผู้ใหญ่สามารถพยากรณ์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนโดยรวมได้ร้อยละ 51.5 และพบว่า กระบวนการพัฒนากลยุทธ์สามารถพยากรณ์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในภาพรวมได้ร้อยละ 53.9 ผลการประชุมสนทนากลุ่ม มีมติให้แบ่งการดำเนินงานของระบบการจัดการศึกษาผู้ใหญ่เป็น 10 ด้านคือ ด้านการกำหนดเนื้อหา ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น ด้านการกำหนดกลยุทธ์การสอน ด้านการจัดกลุ่มผู้เรียน ด้านการกำหนดเวลาเรียน ด้านการจัดสถานที่เรียน ด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการประเมิน และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ ผลการประเมินความเหมาะสมพบว่าเหมาะสมมาก

References

กรมวิชาการ. (2550). หลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558. กระทรวงศึกษาธิการ.

คมกฤช จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2540). ความเชื่อ และการปฏิบัติทางพุทธศาสนาของคนไทย: การปลูกฝังอบรมและคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เติมทรัพย์ จั่นเพชร และสนอง โลหิตวิเศษ. (2554). แนวโน้มการพัฒนาตนเองของผู้ใหญ่. ค้นจาก

http://www.edu.chula.ac.th/nfed/students/บทความงานกศน.51%20(pdf)/เติมทรัพย์.pdf

เทพวรินทร์ เขื่อนปัญญา. (2550). รูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. (2553). "โรงเรียนสองภาษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคคลื่นลูกที่สาม." Stamford Journal, 2(2), หน้า 257-264.

ประยุทธ ปยุตฺโต. (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธรรม

พงษ์ศักดิ์ สุขพิทักษ์, ทองใบ สุดชารี และบุญชม ศรีสะอาด. (2555). "กลยุทธ์การบริหารคุณภาพงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3." วารสารการบริหารและพัฒนา. 4(1). หน้า 173-191.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2553). อุ่นใจใกล้บ้าน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2554). หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2546). ผลของการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคกลาง. (2555). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในภาคกลาง. สำนักงานปลัดกระทรงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3. (2554). แผนแม่บทสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 ประจำ ปี งบประมาณ พ.ศ.2554-2558. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2540). การศึกษาเปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. วารสารกรมสุขภาพจิต, 5(3), 4-15.

Abbass, A. (2003). "Cost Effectiveness of Short-term Dynamic Psychotherapy: Expert Rev." Pharmacoeconomics Outcomes Res. 3(5), 2003, 535-539.

Barbara, A. and Dina, L. (2006). Virtual learning communities as a vehicle for workforce development: a case study. Journal of Workplace Learning, 18 (6). pp. 367-383.

Dick, W., & Carey, L. (1989). The systematic design of instruction. 4th ed. New York: Harper Collin.

Fahr, R. (2005). "Loafing or learning? -- The demand for informal education.” European Economic Review, Elsevier, vol. 49(1), pages 75-98, January.

Gerlach, V.S., & Ely, D.P. (1980). Teaching & Media: A Systematic Approach. (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall Incorporated.

Gerlach, V.S., and Ely, D.P. (1971). Teaching and Media: A systematic approach. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Harland, D.G. 1972. “Health and Welfare Indicators”. Current’ Canadian Research Ottawa, Onfario. Department of Regiomal Economic Expension, Oxford.

Jeffs, T., and Smith, M. K. (1999). “Informal education and health provision” in I. Simnett, E. R. Perkins and L. Wright (eds.). Evidence Based Health Promotion: Principles and practice, Chichester: John Wiley.

Kibler, Robert J. (1974). Behavioral Objectives and Instructional Process. Selected Reading for the Introduction to the Teaching Profession. Edited by Milton Muse. Berkeley: McCutchan. (pp. 44-53).

Knowles, M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: Andragogy Versus Pedagogy. Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.

Megginson, G. D., and Pedler. (1992). Self-Development: a Facilitator. London: McGraw Hill.

Rachel, B. (2006). The impact of higher education on lifelong learning. Guildford: University of Surrey.

The Association of Business Executives (ABE). (2008). ABE Study Manual: Strategic Human Resource Management for Business Organization. ABE Advanced Diploma in Business Management: ABE and RRC.

UNESCO. 2009. The state and development of adult learning and education in Subsaharan Africa. Germany: UNESCO Institute for Lifelong Learning.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย