รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

Authors

  • Suparporn Suksri

Keywords:

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง, การส่งเสริมประสิทธิภาพ

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ  และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เสนอรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรวม โดยการเก็บข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน จากผู้บริหาร ครูการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม  ครูปกติสอนเด็กที่เรียนรวม ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม และผู้ปกครองนักเรียนปกติเรียนรวม ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 37 โรงเรียน รวมจำนวน 555 คน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรวม ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง โดยผู้เกี่ยวข้องมีความพร้อมการเปลี่ยนแปลง  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์กับผลความสำเร็จ ส่วนผลประกอบการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรวม มี 4 ด้านคือ ด้านนักเรียน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน ด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรวมเกิดความพึงพอใจและมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  และส่งผลให้การจัดการเรียนรวมได้รับการสนับสนุนการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรวม อย่างเต็มที่จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 

References

กิ่งเพชร ส่งเสริม. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละชั้น ที่มีเด็กที่มี

ความต้องการ พิเศษในโรงเรียนประถมศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

ดารณี อุทัยรัตนกิจและคณะ. (2546). รายงานการวิจัยเการพัฒนาของครูเพื่อการเรียนรู้สูงสุดของนักเรียน. กรุงเทพมหานค: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :

สุวีริยสาส์น.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา (2555). การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีส่วนร่วม. ค้นจาก www.opdc.go.th/oldweb/Mission/Fil

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ.(2555).ค้นจาก www.mua.go.th/data-main/law/.

ธงชัย สันติวงษ์. 2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขันพื้นฐานทีเป็นนิติบุคคล.กระทรวงศึกษากรุงเทพฯ.

สุจินดา ผ่องอักษร. (2551). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญาทางการเรียนรู้ (LD). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 2 : อัดสำเนา,

สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2545) กระบวนการปฏิรูปโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. ค้นจากwww.lib.neu.ac.th/.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. การวัดและประเมิน

ภาพความสำเร็จสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.พรชันการพิมพ์. พ.ศ. 2548.

Bardo, J.W. and Hartman, J.J. ( 1982). Urban society : A systematic introduction.U.S.A. : F.E. Peacock.

Davis, K.eith. (1981). Human behavior at work : organizational behavior. New York : McGraw Hill Book Company.

Fayol, H.Henri. (2555). General and industrial management. London : Sir Isaac Pitman.,& Sons. Accessed 20 December 2012. Available from http://isc.ru.ac.th.

Rensis Likert.(1967) New pattern of management New York McGraw Hill, Inc.

Luthans F.Fred,.(1989). Organization behavior. (5thed). Singapore : Development McGraw Hill. International Editions.

Stainback & Stainback,(1992) C0urriculum consideration in inclusive classroom:

facilitating learning for all students. baltimore: paul H. Brooks.

Stainback, S., & Stainback, W.( 1996). Inclusive : a guide for educators. baltimore : paul H.Brooks publishing Co.

Staub, D., & Peck, C.A. (1994). Inclusive education :where there are resources. gtonland, Norway : the Atlas-Alliance.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย