การพัฒนาแนวทางประกอบการใช้กรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

Authors

  • Maream nilpan

Keywords:

การพัฒนาและการนำนโยบายไปปฏิบัติ, แนวทางประกอบการใช้, กรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต, ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่น

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้ ใช้วิธีการเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการนำกรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลระดับนโยบาย จำนวน 5 คน ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 63 คน ระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 786 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  (1) แนวทางการนำกรอบแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดทั้ง 5 ภูมิภาค มีกรอบเนื้อหาสาระแตกต่างกันตามภูมิภาค (2) แนวทาง ประกอบด้วย การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนวทางดังกล่าวมีความเหมาะสม สอดคล้อง และมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (3) ผลการทดลองใช้แนวทางพบว่า สถานศึกษามีการจัดการศึกษาครอบคลุม 5 ด้าน คือ เกษตรกรรมท้องถิ่น อุตสาหกรรมท้องถิ่น บริการท่องเที่ยวท้องถิ่น ศิลปะการแสดงท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณภาพหน่วยและแผนการจัดการเรียน พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ชิ้นงาน โครงงาน รายงานกิจกรรมของผู้เรียนมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และนักเรียนเห็นคุณค่าและตระหนักในความสำคัญของอาชีพในระดับมาก (4) ผลการปรับปรุงและพัฒนาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรมีเนื้อหา 4 บท ครอบคลุมการบริหารจัดการ การประเมินผลหลักสูตร การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีเนื้อหา5บท ครอบคลุมการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ การจัดการเรียนรู้มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพ และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีเนื้อหา 4 บท ครอบคลุมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อาชีพ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานและชุมชนในการวัดและประเมินผล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อการมีงานทำ : นโยบายและ ยุทธศาสตร์

ของกระทรวงศึกษาธิการ. ค้นจาก http://WWW.school.skz2.go.th/lcska2/.../dQ4TeN7R9jgP.doc

กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. ค้นจาก

http://tkagri.doae.go.th/temp.php?gpg=title02

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544). สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: องค์การค้า

ของคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รายงานการวิจัย การจัดการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการจัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนพื้นฐานอาชีพในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุมาลี สังข์ศรี. (2544). รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). ทิศทางใหม่และมาตรฐานของการประเมินผู้เรียน. ในสุวิมล ว่องวาณิช (บรรณาธิการ). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Assessment Reform Group. (2002). Assessment for learning principles. Retrieved from http://www.aaia.org.uk/assessment.htm

Assessment Reform Group. (1999). Assessment for learning: beyond the black box. Cambridge : University of Cambridge School of Education.

Beers, S. Z. (2011). Teaching 21St century skills: An ASCD action tool. Association for Supervision and Curriculum Development.

Black, P. J. & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning’, assessment in education,

(1), 7-74.

Finch, C. R. & Crunkilton, J. R. (1999). Curriculum development in vocational and technical education: Planning, content, and implementation (5th ed.). Needham Heights MA: Allyn and Bacon.

Grant – Holcomb, A. (2009). Management knowledge and skills in the undergraduate dietetics curriculum: An assessment. Dissertation submitted in partial satisfaction of the requirements for the degree of Doctor of Education in Organizational Leadership of Pepperdine University.

Hinojosa, E. M. (2001). Superintendent’s perceptions of curriculum management audits. Dissertation Presented to the Faculty of the Graduate School of The University of Texas.

Oliva, P. F. (2013). Developing the curriculum (8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Stiggins, R. J., Arter, J. A., Chappuis J. & Chappuis, S. (2004). Classroom assessment for student learning. Portland, OR: Assessment Training Institute.

Sweeney, D. (2011). Student-centered coaching: A guide for K-8 coaches and principles. California: Corwin.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย