บุคลิกภาพและทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบรนด์เครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี

Authors

  • Asrapan pujumpa

Keywords:

บุคลิกภาพ ทัศนคติ, การตัดสินใจเลือกแบรนด์, เครื่องสำอางค์

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของบุคลิกภาพของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบรนด์เครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี และ (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบรนด์เครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นผู้ซื้อเครื่องสำอางค์ในร้านจำหน่ายเครื่องสำอางค์ในจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกเครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี (2) บุคลิกภาพแบบซับซ้อน บุคลิกภาพแบบห้าวหาญมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกแบรนด์เครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี (3) ทัศนคติไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกแบรนด์เครื่องสำอางค์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี

References

นนทกร ศาลิคุปต. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพตราสินค้า กับบุคลิกภาพผู้บริโภคและทัศนคติของผู้บริโภค

ต่อตราสินค้า. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรรัตน์ สาสนปัชโชติ (2551). การวิเคราะห์ตำแหน่งและบุคลิกภาพของตราสินค้าในโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์.

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนสุดา แสงรัตนา. 2552. การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมด้านส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อเครื่องสำอางค์ของ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจ. คณะ บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางค์ไทย. (2555). ข้อมูลนโยบายการบริหารงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์

ประเทศไทย. ค้นจาก http://www.thaicosmetic.org/

อรุณวรรณ แก้วศิลป์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางค์โอเรียลทอลพริ้นเซสในเขต

กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ, มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Aaker, L. J. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of marketing Research, 34(3), 347-357

Cochran, W. G. (1977).Sampling techniques. New York: Wiley.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychology testing ( 3rd ed). New York: Harper and Row.

Kotler, P. (2012). Marketing management (14th ed). New Jersey: Pearson Education.

Melvin, L. D. & Ball-Rokeach, S. J. (1989). Theories of Mass Communication. New York: Longman.

Revinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1997). Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Schiffman, L.G. & Kanuk, L. L. (2007). Customer Behavior (9thed). New Jersy: Prentice Hall.

Schiffman, L.G. & Kanuk, L. L. (2010). Customer behavior (10th ed). New Jersy: Prentice Hall.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย