การบริหารจัดการความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสื่อมวลชน

Authors

  • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส

Keywords:

การบริหารจัดการความรู้, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, สื่อมวลชน

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการความรู้

 (2) ปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการความรู้และ (3) รูปแบบการบริหารจัดการความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสื่อมวลชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสื่อมวลชนจำนวน 9 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนทุกแขนง จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1)  สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการความรู้ ประกอบด้วย โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  แนวคิดการพัฒนาโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ  การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารมวลชน  ความตระหนักรู้ การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้แก่ การแก้ปัญหาการประยุกต์ใช้และการพัฒนา  (2) ปัจจัยที่สนับสนุนในการบริหารจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ บุคลากร ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ถูกต้อง กระบวนการศึกษาพัฒนาการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการสร้างประสบการณ์ให้กับบุคลากรที่เหมาะสม 3.  รูปแบบการบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสื่อมวลชนประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). คู่มือการจัดการความรู้ใน องค์กรการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

ผกาพันธ์ อินต๊ะแก้ว. (2552). รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มโรงเรียนสาธิต. ปริญญานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Senge P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.

Urwick, F. L. & Gulick, H. L. (1937). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย