ผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3: กรณีศึกษา

Authors

  • วินัย ป้อมดำ

Keywords:

ผู้นำทางวิชาการ, บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพรชบูรณ์

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3 โดยใช้วิธี กรณีศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูวิชาการ 1 คน ครูผู้สอน  5 คน ผลการศึกษาพบว่า:  (1) วิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง มีการจัดทำแผนงาน โครงการด้านวิชาการจัดทำแผนกลยุทธ์และธรรมนูญโรงเรียนเป็นปัจจุบันและมีการแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างชัดเจน; (2) ด้านความเป็นผู้นำในการริเริ่มการใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน สถานศึกษามีการวางแผนงาน โครงการและกิจกรรมในการใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนอย่างชัดเจน; (3) ด้านการส่งเสริมการนำเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ สถานศึกษามีการจัดทำแผนงาน โครงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน แต่สถานศึกษาขาดเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์; (4) ด้านศักยภาพการพึ่งตนเองในการพัฒนางานวิชาการ สถานศึกษามีการจัดทำ แผนงาน โครงการงาน กิจกรรมทางวิชาการอย่างชัดเจนมีการจัดทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละภาคเรียน มีการจัดทำหลักสูตรมีแผนการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน มีการจัดทำการวัดผลประเมินผล มีการจัดเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน; (5) ด้านการแสวงหาความรู้ใหม่มาปรับใช้ตลอดเวลา โรงเรียนมีการจัดทำแผนงานโครงการผู้บริหารและครู เข้าอบรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอมีการนำผลการวิจัยมาใช้กับนักเรียน

References

ธีระ รุญเจริญ. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

เสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2547). ปัจจัยองค์กรที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2558). ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. ค้นจาก http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอสดีเพรส.

Gilbert, J. (2003). In S. Evans, New way of learning. A report on the conference of the New Zealand Council for Educational research, Educating for the Twenty- first Century,Wellington, New Zealand, in Educational Review Campus Review, 12(32), Aug 20-26.

Mickey, Beatrice, H. (2000). Instructional leadership: A vehicle for one urban principal to effective pedagogical restructuring in a Middle School .Ed. D. Dissertation, Temple University.

Wildy, H., & Dimmock, C. (1993). International leadership in primary and secondary school. Journal of educational administration, 31(21), 43-61.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย