การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานีเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Authors

  • ตระกูล จิตวัฒนากร

Keywords:

การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา, ประชาคมอาเซียน, จังหวัดปทุมธานี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานีที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในด้าน ด้านภาษา  ด้านการเรียนรู้ของตนเอง  ด้านการเรียนรู้อาเซียน  ด้านทักษะวิชาชีพ   ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และด้านการติดตามข่าวสารอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานีที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 9 มหาวิทยาลัย รวมจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 144,819 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัย พบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.6 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.51-3.00 จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 29.1 และศึกษาอยู่ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 52.6 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานีเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานีเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามชั้นปี จำแนกตามระดับผลการเรียน และจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า การเตรียมความพร้อมของนักศึกษามีความแตกต่างกันในแต่ละชั้นปี แตกต่างกันในแต่ละระดับผลการเรียนเฉลี่ยและแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. ค้นจาก http://intranet.dwr.go.th/bic/images/stories/Strategy/thailand%20and%20asean.pdf,

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557.

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2556). ASEAN Mini Book. กรุงเทพฯ: กรมอาเซียนกระทรวงการ ต่างประเทศ.

จาตุรนต์ ฉายแสง. (ม.ป.ป.). โยบายด้านการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรวัฒน์ วีรังกร, (ม.ป.ป.). นักศึกษารุ่นใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร...ก่อนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ปี 2558. ค้นจาก http://ait.nsru.ac.th/imt2013/knowIMT/1259837181.4921.pdf.

ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2555). การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อรองรับการ

เป็นประชาคมอาเซียน. ค้นจาก http://www.graduate.cmru.ac.th/web55/download/F8751-36-92-00023.pdf.

ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2555). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงสู่

การเป็นประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2)

(กรกฎาคม-ธันวาคม 2555).

ศรีวิกา เมฆธวัชชัยสกุล. (ม.ป.ป.). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ ความร่วมมือ ด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนภายใต้ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. ค้นจาก http://basd.mua.go.th/nbm/upload/documents/document-55-siwikar.pdf.

สุบิน ยุระรัช. (2554). ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อ

รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.), 17(2) (ธันวาคม 2554).

Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย