การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • อมรัชญา ชินศรี

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงบุกเบิก, ความสามารถในการแก้ปัญหา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ (3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตปริมณฑล จำนวน 9,577 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 633 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงบุกเบิก ด้วยโปรแกรมลิสเรล เวอร์ชั่น 9.10 รหัส DP-14-072914-12727 ระยะที่ 2พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวคิดอริยสัจ 4 โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน   ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบความสามารถในการแก้ปัญหา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดตัดสินใจ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นรูปแบบของกิจกรรมที่อิงเนื้อหาตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกปฏิบัติตามกิจกรรม เรียกว่า PAIWAT มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน (3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียน
ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ทิศนา แขมมณี. (2547). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ศราพันธุ์. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครุศึกษาทางคหกรรม ศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยายาลัยขอนแก่น.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

Dewey, J. (1963). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.

Gardner , H. (1998). Multiple intelligence: Theory in practice. New York: Basic Books.

Leighton, J. P., & Sternberg, R. J. (2003). Reasoning and problem solving. In A. F. Healy & R. W. Proctor

(Volume Eds.), Experimental psychology, 623-648.

Matlin, M. W. (1992). Psychology. New York Holt: Rinehart and Winston.

Simon, H. A. (1960). Administrative behavior (3rd ed). New York: The Free Press.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย