ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ

Authors

  • สัณฑภวิษย์ มากช่วย

Keywords:

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ, นโยบาย, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ (2)ความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ  และ (3) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติจากการสัมภาษณ์ แล้วเลือกปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีความเห็นตรงกัน จำนวน 10 ด้าน มาวิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จำนวน 1,097 คน จำนวน 293 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติไม่แตกต่างกันอยู่เพียง 1 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ส่วนอีก 9 ด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรปัจจัย พบว่า ตัวแปรปัจจัยทั้ง 10 ด้าน ร่วมกันเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = .975

References

จอม สิงห์น้อย. (2545). การนำนโยบายปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสตูลไปปฏิบัติ. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชวลิต วิศลดิลกพันธ์. (2544). การศึกษานโยบายการปราบปรามยาบ้าระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา การิยะ. (2546). การนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด (ศตส.จ.) จังหวัดสระบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์ จำกัด.

วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2552). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2552 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

Attewell, P., & Gerstein, D. R.. (1979), Government policy and local practice. American Sociological Review, 44, 311-327.

Edwards, G. C. (1980). Implementing public policy. Washington DC: Congressional Quarterly Press.

Gerston, L. N. (1983). Making public policy: From conflict to resolution. Illinois: Scott, Foresman, and Company.

Golembiewski, R. T. (1977). Public administration: As a developing discipline. New York: Marcel Dekker.

Hill, M. & Hupe, P. (2002). Implementing public policy: Governance in theory and in practice. Beverly Hills, California: Sage Publications.

Ingram, H. M. & Mann, D. E. (1980). Why policies succeed or fail. Beverly Hills, California: Sage Publications.

Merriam-Webster. (2008). Merriam-Webster’s advanced learner’s English dictionary. Springfield, Massachusetts: Merriam-Webster, Incorporated.

Osmonaliev, K. (2005). Developing counter-narcotics policy in central asia: Legal and political dimensions.

Silk Road Paper, January, 2005 Retrieved from [email protected]

Spratt, K. (2009). Policy implementation barriers analysis: Conceptual framework and pilot test in three countries. Washington, DC: Futures Group, Health Policy Initiative, Task Order I.

Webster. (1988). Third college edition Webster’s new world dictionary of American English. New York: Webster’s New World Dictionaries.

Yin, R. K., Karen A. H. & Mary, E. V. (1977). Tinkering with the system. Lexington, Mass.: Lexington Books.

Younis, T., & Davidson, I. (1990). The study of implementation. In T. Younis (Ed.), Implementation in public policy. Aldershot, England: Dartmouth.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย