ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงิน

Authors

  • ยุวดี จริยานันทศักดิ์

Keywords:

ปัจจัยที่นำสู่โอกาสเกิดความเสี่ยง, ความเสี่ยง, การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงิน ของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี (2) ศึกษาปัจจัยที่นำสู่โอกาสการเกิดความเสี่ยงมีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้หรือเคยใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี มีจำนวน 290 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่นำสู่โอกาสเกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ด้านมิจฉาชีพ และด้านสถานที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านบุคลไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี (2) ปัจจัยที่นำสู่โอกาสเกิดความเสี่ยงปัจจัยด้านสถานที่ ด้านปลอดภัย และด้านมิจฉาชีพส่งผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านบุคคล ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2551). ข้อควรระวังในการในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมทางการเงิน (Internet Banking). ค้นจาก http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner /Fraudalert/Pages/ElectronicBanking.aspx

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน). (2553). การใช้รหัสผ่านเพื่อมาตรฐานการป้องกันสูงสุด. ค้นจาก https://www.tmbbank.com/personal/ebanking/guru/securitytips/detail.php?id=1.

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (2556). การใช้รหัสผ่านเพื่อมาตรฐานการป้องกันสูงสุด. ค้นจาก http://www.scb.co.th/th/about-scb/security-tips.

ปิยะฉัตร ทองนาค. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการกับธนาคาร พาณิชย์. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา และคณะ. (2551). การผลิตกำลังคนสาขาพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ของสถาบันการศึกษา พยาบาลในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 23(4), 41.

พลอย เจริญสม. (2555) . การฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตและการระงับข้อพิพาททางออนไลน์. ค้นจาก

http://www.etda.or.th/etda_website/content/1446.html

เอกลักษณ์ โสภาพันธ์. (2553). ความเสี่ยงด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ . ค้นจาก http://www.gotoknow.

org/posts/338158

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย