เปรียบเทียบกฎหมายกับคำสั่งของคณะปฏิวัติ

Authors

  • คเณส ฉมารักษ์กุล

Keywords:

กฎหมาย, ปฏิวัติ, คำสั่ง

Abstract

ทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายโดยคณะปฏิวัติรัฐประหารกับการออกกฎหมายโดยกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา การใช้อำนาจของรัฐที่ได้มาจากการปฏิวัติรัฐประหารว่าด้วย การใช้อำนาจดังกล่าวชอบธรรมหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยการปฏิวัติรัฐประหารกับกฎหมาย ที่ออกโดยกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ กับรัฐบาลที่ได้มาโดยกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา และแนวทางในการป้องกันและยับยั้งการปฏิวัติ ผู้วิจัยจะศึกษาโดยวิธีวิจัยเอกสาร และสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องภาษาไทยและภาษาต่างประเทศศึกษาจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองของไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กระบวนการออกและบังคับใช้กฎหมาย โดยคณะปฏิวัติและการออกกฎหมายโดยกระบวนการนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา ตลอดถึงบทบาทและหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัติและตุลาการที่มีต่อกฎหมายดังกล่าว โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการออกกฎหมายของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ผลการวิจัยพบว่า การปฏิวัติหากกระทำเป็นผลสำเร็จสามารถยึดอำนาจรัฐไว้ได้แล้ว  ผลคือ การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  หรือถ้าหากการกระทำนั้นเป็นความผิดก็ไม่ต้องรับโทษ เพราะมีกฎหมายนิรโทษกรรม ดังคำกล่าวที่ว่า “ชนะเป็นเจ้าแพ้เป็นโจร” จึงมีข้อเสนอแนะ ให้ประชาชนต้องตระหนักอยู่เสมอว่าอำนาจต้องมาจากประชาชน กฎหมายต้องมาจากกระบวนการนิติบัญญัติในระบบรัฐสภาเท่านั้น จึงจะใช้ปกครองตนเองได้ไม่ใช่มาจากประกาศ  หรือคำสั่งของคณะปฏิวัติ รัฐ และอำนาจที่เกิดจากการปฏิวัติต้องมีกรอบ  หรือกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนหากไม่กำหนดไว้เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้  อำนาจ  ประกาศ  และคำสั่งของ  คณะปฏิวัติรัฐประหารต้องสิ้นสุดลง

 

References

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (ม.ป.ป.). สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ม.ป.ท.

พูนศักดิ์ วรรณพงษ์. (2538). พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: เค.พี.

ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์. (2541). บทบาท อำนาจ หน้าที่ของกรรมาธิการวิสามัญประจำวุฒิสภา.

วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โภคิน พลกุล. (2529). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องในรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: โครงการนโยบายสาธารณะ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

มนตรี รูปสุวรรณ. (2531). กฎหมายรัฐสภา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มนตรี รูปสุวรรณ. (2542). เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย