การสื่อสารทางการเมือง ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ Political Communication, Strategies and Tactics of Mr. Chuvit Kamolvisit

Authors

  • วิเชียร ช่วยหนู

Keywords:

การสื่อสาร, การสื่อสารทางการเมือง, ยุทธศาสตร์การสื่อสารทางการเมือง, กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสาร ทางการเมืองของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายชูวิทย์ได้ใช้ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง ในห้วงเวลาต่าง ๆ อย่างไร จนสามารถประสบความสำเร็จในการเมืองระดับชาติ โดยศึกษาใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนเข้าสู่การเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2546) และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตลอดจนการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ช่วงที่ 1 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสารของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ คือการรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ และการป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดี มียุทธศาสตร์คือ   การสื่อสารเพื่อความอยู่รอด โดยใช้กลยุทธ์การสร้างข่าว ด้วยทักษะทางการสื่อสารทั้งคำพูด และท่าทาง ประกอบกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่เคยมีใครเคยเปิดเผย ทำให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวของนายชูวิทย์ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ได้ศึกษา ช่วงที่ 2 การเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งเป็นระบับบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง และไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ อีกทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชน นายชูวิทย์เสนอนโยบายขอเป็นฝ่ายค้าน ตอกย้ำความเป็นจอมแฉ ตอบสนองต่อคนกลุ่มที่ไม่มีความผูกพันกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และเมื่อเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรนายชูวิทย์ก็ได้ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟสบุ๊คกำหนดประเด็นสื่อสารไปยังประชาชนโดยตรง 

References

Berlo, D. K. (1960).The process of communication: an introduction to theory and practice. New York: Holt,

Rinehart and Winston.

Blumler, J. G. & Gurevitch, M. (1995). The crisis of public communication .New York: Routledge.

Chumpol, P. (2009). Communication with the city. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Jantawong, S. (1997). Elected governor in 1996: Strategic studies visualization. Bangkok: Thamasart university.

(in Thai)

Jirasophon, P. (1994). And communication theory at 9-15 units. Nonthaburi: Sukhothai Thammatirat University.

Kaewtap, K. (2009). Media analysis: Concepts and techniques. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Kamolvisit, C. (2015). Personal communication, April 17, 2015. (in Thai)

McNair, B. (2011). An introduction to political communication. New York: Routledge.

Mueller, C. (1973).The politics of communication: a study in the political sociology of language, socialization, and legitimating. London: Oxford University Press.

Pye, L. W. (1963). Communication and political development princeton. N. J: Princeton University Press.

Kasamsin, B. (2005). The strategy sets the agenda Chuwit Kamol Wisit. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Sotanasatean, S. (1998). Communication with the city. Bangkok: Performance Packaging & Printing. (in Thai)

Worapan, D. et.al. (1993). Political behavior and communication during the general election campaign1993. Bangkok: Thamasart university. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

Issue

Section

บทความวิจัย