การบริหารจัดการหมู่บ้านช้างต้นแบบของจังหวัดสุรินทร์ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Kannika Jarournpan Eastern Asia University
  • Sampan Polpuk Eastern Asia University

Keywords:

การบริหารจัดการ, หมู่บ้านช้างต้นแบบ, จังหวัดสุรินทร์, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา (1) สภาพปัญหาของการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการประผลสำเร็จ และ (4) เสนอตัวแบบในการบริหารจัดการหมู่บ้านช้างต้นแบบของจังหวัดสุรินทร์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษานี้ เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เลี้ยงช้างและเกี่ยวข้องกับหมู่บ้านช้างในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,104 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาของการบริหารจัดการ ที่สำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ไม่ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเลี้ยงช้าง (2) แนวทางการที่สำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ควรส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงช้างรวมกลุ่มกัน ยึดถือทางสายกลางในการเลี้ยงที่สอดคล้องกับความสามารถของตนเอง ครอบครัวและกลุ่มเครือข่าย (3) ปัจจัยที่สำคัญ คือ การที่จังหวัดได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนในกิจกรรมที่จังหวัดดำเนินการให้การส่งเสริมและการสนับสนุน และ (4) ตัวแบบในการบริหารจัดการ เรียงตามลำดับจากความสำคัญมากไปน้อย  ดังนี้ ด้านความรู้คู่คุณธรรม  ด้านการพึ่งตนเอง  ด้านพอประมาณ และด้านความมีภูมิคุ้มกัน 

Downloads

Published

2017-08-11

Issue

Section

บทความวิจัย