การบริหารจัดการด้านการให้บริการในการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Nitipat Sanordontre Eastern Asia University
  • Sampan Polpuk Eastern Asia University

Keywords:

การบริหารจัดการ, การบริการ, การจัดเก็บภาษี, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การการวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา (1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนในการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 37 แห่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 1,108 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดแคลนบุคลากร ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการวางแผนเตรียมบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ ควรจัดเตรียมบุคลากรให้เพียงพอ มีการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทั่วถึง มีการวางแผนเตรียมบุคลากรและนำเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนในการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบความสำเร็จ ปัจจัยภายใน คือ ผู้บริหารท้องถิ่นมีภาวะความผู้นำ และปัจจัยภายนอก คือ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

Downloads

Published

2017-08-11

Issue

Section

บทความวิจัย