ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเองของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

Authors

  • ปุญญิศา รักประยูร
  • นิศากร สมสุข

Keywords:

ความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยี, เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเอง, ท่าอากาศยาน

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ เนื่องจากเทคโนโลยีการบริการด้วยตนเอง ไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้โดยสารคนไทย ทำให้ยังมีการต่อแถวเพื่อใช้บริการเคาน์เตอร์เช็คอิน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบความสัมพันธ์รายคู่ระหว่างความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในการใช้งาน และอิทธิพลของสังคมกับความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเองของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และเพื่อหาอำนาจในการพยากรณ์ของความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในการใช้งาน และอิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเองของผู้โดยสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้โดยสารคนไทยที่เคยเดินทาง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.877 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ (X1) ปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม (X2) และปัจจัยด้านอิทธิพลของสังคม (X3) มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเองของผู้โดยสาร (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.525, 0.242 และ 0.249 ตามลำดับ (2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ ที่สามารถพยากรณ์ความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีการบริการด้วยตนเองของผู้โดยสาร (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ร้อยละ 27.60 (หรือ R2 = 0.276) ซึ่งสมการถดถอยในรูปของคะแนนดิบ คือ Ŷ = 2.127 + 0.540 (X1)

Downloads

Published

2019-04-17

Issue

Section

บทความวิจัย