การพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวกของสมาชิกสถาบันอาชีวศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน และมหาวิทยาลัยราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

Authors

  • Pruthigri Kraipipadh Shinawatra University
  • Woradech Chantarasorn Shinawatra University

Keywords:

การพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวก, สมาชิกสถาบันอาชีวศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน, มหาวิทยาลัยราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของสมาชิกนักเรียนอาชีวศึกษาทั้งชาย หญิง ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ป.ว.ช.) สองกลุ่มเสี่ยงของรัฐบาล วิทยาเขตช่างกลปทุมวัน และวิทยาเขตอุเทนถวาย (2) เพื่อให้เห็นความสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาอย่าเร่งด่วน และเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขให้ถูกทางทั้งในระยะสั้น และระยะยาว (3) เพื่อเสนอเป็นแนวทางนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังเป็นแรงงานขาดแคลนของชาติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นเป็นศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบัน สถาบันละ 8 คนรวมเป็น 16 คน นักศึกษาปัจจุบัน สถาบันช่างกลปทุมวัน 15 คน ราชมงคลอุเทนถวาย 15 คน รวมทั้งหมด 30 คน อาจารย์ประจำช่างกลปทุมวัน 5 คน อาจารย์ประจำราชมงคลอุเทนถวาย 5 คน รวม 10 คน ผู้ปกครองของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในทั้งสองแห่งจำนวน 20 คน รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 76 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเองทุกราย จนข้อมูลอิ่มตัว วิเคราะห์เนื้อหาเป็นประเด็นต่าง ๆ พร้อมด้วยความถี่ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาทั้งสองสถาบันมีพฤติกรรมที่เบี่ยงแบนจนนำไปสู่สาเหตุของการทะเละวิวาทกันของทั้งสองสถาบัน ได้แก่ (1) ค่านิยมที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการรับน้องของรุ่นพี่ (ร้อยละ60) (2) ความคึกคะนองตามประสาวัยรุ่นและค่านิยมที่ผิด ๆที่ได้รับจากรุ่นพี่ (ร้อยละ 50) (3) เกิดจากการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม (ร้อยละ80) (4) เกิดจากการใช้สารเสพติดทำให้ขาดการยั้งคิด (ร้อยละ60) (5) เพราะคุณภาพการเรียนการสอนของสถาบันไม่มีคุณภาพพอ (ร้อยละ 60) (6) เพระความรักสถาบันของตัวเองไม่ยอมให้ใครมาลบลู่ (ร้อยละ50) (7) เพราะสีเสื้อและเครื่องหมายของสถาบันที่ต่างกัน (ร้อยละ78.26) การวิจัยยังค้นพบ อีกว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อสังคมและเกิดความสูญเสียอย่างมาก เห็นสมควรให้มีการแก้ไขเร่งด่วน และได้ข้อสรุปจากการแก้ปัญหาหลัก จากการวิเคราะห์ครั้งนี้โดย ให้มีการสร้างหลักการบริหารองค์กรแนวใหม่ขึ้นมาแทนของเก่า ในเรือง ระบบ ระเบียบ วินัย โดยขอเสนอให้รวมสองสถาบันอาชีวศึกษาให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อหลอมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวบุคล ที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับระบบการบริหารงานใหม่ที่รวมตัวเป็นหนึ่ง

Downloads

Published

2017-08-11

Issue

Section

บทความวิจัย