การสร้างแบบฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขา

Main Article Content

ชุติญา อุ่นทานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อสร้างโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขา 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขาก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนพุทไธสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขา แบบทดสอบลุก-นั่ง 60 วินาที กลุ่มตัวอย่างได้รับการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ทดสอบก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขาก่อนการฝึกหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8


ผลการศึกษาพบว่า
1. โปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานที่สร้างขึ้นใช้ทำการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง สามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขาได้
2. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.86 กิโลกรัม/นํ้าหนักตัว หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.87, 1.87 กิโลกรัม/นํ้าหนักตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.77 กิโลกรัม/นํ้าหนักตัว หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.79, 1.84 กิโลกรัม/นํ้าหนักตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง ลุก-นั่ง 60 วินาที ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.53 ครั้ง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.13, 56.58 ครั้งตามลำดับ
3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวที่วัดด้วยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อท้อง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 สูงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
[1]
อุ่นทานนท์ ช., “การสร้างแบบฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขา”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 71–77, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)