ความต้องการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

บวรพจน์ พุดสีเสน

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) รูปแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาความต้องการใช้บัณฑิตหลักสูตรปริญญา
ตรี สาขาวิชาจิตวิทยาของผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) นิสิตที่กำลังศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2558 2) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2558 และ 4) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาล สถานประกอบการ และสถานศึกษาของรัฐและเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงเนื้อหาโดยใช้วิธีการใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันได้มีการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก และสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว โดยใช้ชื่อหลักสูตรว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา (Bachelor
of Science Program in Psychology) มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต และระดับความต้องการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามของนิสิตที่กำลังศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่ายังมีระดับความต้องการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) มีระดับความตอ้ งการในการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนที่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านสาขาวิชาจิตวิทยา คิดเป็นร้อยละ 72.75 ไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 16.50 และไม่สนใจ คิดเป็นร้อยละ 10.75 ตามลำดับ โดยสาขาวิชา เมื่อแบ่งตามความสนใจของผู้ศึกษา พบว่านักเรียนสนใจที่จะศึกษาต่อ
ทางด้านจิตวิทยาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.75 รองลงมาคือ จิตวิทยาการให้คำปรึกษา คิดเป็นร้อยละ 63.25 และจิตวิทยาชุมชน คิดเป็นร้อยละ 62.75 ตามลำดับ และ 3) สถานประกอบการส่วนใหญ่เล็งเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่จบทางด้านจิตวิทยาในหน่วยงานของตนเองเพิ่มตั้งแต่ 1-4 คน ขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่วยงานนั้นๆและคุณลักษณะของบัณฑิตหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยาที่ผู้ประกอบการต้องการ พบว่าผู้ประกอบการต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านจิตวิทยา มีความรู้ความสามารถภาษาต่างประเทศ มีความเป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดีเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีความอดทน มีความขยัน ซื่อสัตย์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหามีความสามารถในการตัดสินใจได้ดี มีความตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ตนเองรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
[1]
พุดสีเสน บ., “ความต้องการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 111–122, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)