ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ปิ่นทอง วิหารธรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2)เพื่อศึกษาทักษะการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) วีดิทัศน์สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทาง 3) แบบวัดทักษะการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ 4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของกิลด์ฟอร์ด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้วิจัยได้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน ได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และได้พัฒนาวีดิทัศน์จำนวน 21 ตอน ได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และ 4.59 ตามลำดับ 2) มีผู้เรียนที่ได้ผลการประเมินทักษะการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีขึ้นไปจำนวน 30 คน จากผู้เรียนทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) มีนักเรียนผ่านการประเมินความคิดสร้างสรรค์ 23 คน จากจำนวนนักเรียน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
[1]
วิหารธรรม ป., “ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 164–175, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)