การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปุณยนุช โมกศรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสตึก จำนวน 32 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ t-test Dependent


ผลการวิจัยพบว่า


1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) ผู้เรียน (3) ผู้สอน (4) เนื้อหาสาระ (5) โครงสร้างพื้นฐาน (6) กลวิธีการเรียนการสอน (7) การวัดและการประเมินผล และขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน (3) ขั้นวัดผลประเมินผล
2) รูปแบบการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.66/83.13
3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
[1]
โมกศรี ป., “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการสร้างโครงงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 176–187, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)