การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อุมาพร ผิวแดง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง “การละเล่นพื้นเมือง” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน 2) ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้ สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่ได้ปรับปรุงจากของ นิคม ชมพูหลง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการประเมินการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการ สถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 4.21 – 4.56 และความเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าระหว่าง0.00 – 0.66 แสดงว่าทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} ) เท่ากับ 20.71 คิดเป็นร้อยละ 69.04 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} ) เท่ากับ 26.56 คิดเป็นร้อยละ 88.52 มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ19.48

Article Details

How to Cite
[1]
ผิวแดง อ., “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นเมือง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 300–306, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)