The Effects of Group Process for Developing Grade 9 Students’Adversity Quotient

Main Article Content

อรทัย บุตรหมื่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนน้ำพองศึกษา ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่มีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียนระดับต่ำและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 9 คน โดยทั้งสองกลุ่มมีคะแนนใกล้เคียงกัน ด้วยวิธีการจับคู่คะแนนที่ใกล้เคียงกันให้อยู่คนละกลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียน จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้นำกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8774 และโปรแกรมกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ The Wilcoxon’s Matched-Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann-Whitney U test


ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียน กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
[1]
บุตรหมื่น อ., “The Effects of Group Process for Developing Grade 9 Students’Adversity Quotient”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 4, pp. 254–264, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)