การเปรียบเทียบความรู้และคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยการสอนแบบการใช้กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับ และการสอนแบบปกติ

Main Article Content

Namphet Nasaree
Samran Meejang

บทคัดย่อ

การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่กำลังศึกษาอยู่และยังนำมาสู่การปรับปรุงวิธีการเรียนรู้  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความรู้และคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้รับสอนแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  และ     2) เปรียบเทียบความรู้และคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการสอนแบบการใช้กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับและการสอนแบบปกติ


             กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิทยาศาสตร์ ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มทดลองคือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิทยาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 (TL 5002) ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน  และกลุ่มควบคุมคือ นักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 (TL 5002) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบทดสอบ  และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA)


              ผลการศึกษาพบว่า  1)  นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้รับการสอนด้วยการใช้กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับมีความรู้และคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้รับการสอนด้วยการใช้กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับมีความรู้และผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านกระบวนการวิจัย วิธีการวิจัยและการนำงานวิจัยไปใช้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)